EMERGENCY DEPARTMENT
King Chulalongkorn Memorial Hospital
"We live to save lives. That's what we do and that's why we love Emergency Medicine!!"
เนื่องด้วยปัจจุบันมีผุ้ป่วยฉุกเฉินมารับบริการในห้องฉุกเฉินเพิ่มขึ้นในทุกปี ประกอบกับวิทยาการสมัยใหม่มีการก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ตามมาตรฐานสากล เพราะฉะนั้นจึงมีการจัดงานวิชาการด้านต่างๆ และงานสอนตั้งแต่นิสิตแพทย์ไปจนถึงแพทย์ประจำบ้าน ให้สอดคล้องกับพันธกิจของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โปรแกรมสำหรับแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินเริ่มมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 โดยใช้ระยะเวลาในการฝึกอบมเป็นเวลา 3 ปี โดยในช่วงเวลาการฝึกอบรมจะได้ปฎิบัติงานในการดูแลผธ้ป่วยฉุกเฉิน ทั้งในและนอกโรงพยาบาล รวมถึงได้ฝึกการทำหัตถการในการช่วยชีวิตต่างๆ ตลอดจนการศึกษาดูงานในสาขาย่อยที่สนใจ เช่น Prehospital care, Aviation, Toxicology, Hyper-Hypobaric และอื่นๆ
โปรแกรม WINFOCUS (World Interactive Network Focused on Critical Ultrasound) เป็นโปรแกรมหลักของการทำ Ultrasound สำหรับผู้ป่วยวิกฤต ซึ่งเป็นโปรแกรมสากลมีการฝึกอบรมอยู่ทั่วโลก สำหรับในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดย อ.พญ.สุธาพร ล้ำเลิศกุล ได้เป็นผู้บุกเบิกและตัวแทนของ WINFOCUS ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดของผู้ป่วยวิกฤต และผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องฉุกเฉิน การค้นคว้าวิจัยจึงเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
มีการเรียนการสอนสำหรับนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 และ 6 (Extern) เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และผู้ป่วยฉุกเฉิน ก่อนที่จะจบไปทำงานในชีวิตแพทย์
(สามารถศึกษาเอกสารประกอบการเรียนการสอนได้ภายใน)